วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

สารลำไยใช้เป็นสารราดลำไยบริเวณโคนต้นลำไย



สารลำไย สารโพแทสเซี่ยมหรือสารราดลำไย ใช้เป็นสารใส่ลำไยแล้วช่วยเร่งทำให้ลำไยออกดอกได้ตามต้องการ ใช้ได้ทั้งลำไยในฤดูและนอกฤดู
สารลำไยนอกฤดูและในฤดู
สารใส่ลำไยสำหรับเร่งการออกดอกลำไยสารโพแทสเซี่ยมคลอเรตยี่ห้อ The Sun เป็นสารที่ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตราฐาน มีเปอร์เซนต์คลอเรตสูง เป็นของแท้ (ถ้าซื้อจากเรา ) เคลื่อนย้ายสะดวก มีใบอนุญาตในการขนย้ายถูกต้อง ให้กับท่านทุกครั้งที่ซื้อจากเราเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้ากลับบ้านโดยไม่ต้องกังวนหรือหากท่านไม่สะดวกมารับเองทางเรามีบริการรับส่งทั่วประเทศ สนใจติดต่อ 089-5599056 ติดตามเวปเพจใหม่ของเรา คลิกตรงนี้เบาๆ

สำหรับท่านที่มีสวนอยู่ในจังหวัด เชียงใหม่ ลำพูน แต่ไม่มีเวลาดูแลสวนลำไย เรามีบริการรับดูแลสวนลำไยของท่าน ตั้งแต่การตัดแต่งกิ่งเตรียมต้น ราดสารลำไย ใส่ปุ๋ย กำจัดโรคแมลง จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตและรับซื้อผลผลิตครบวงจรโดยทีมงานมากประสบการณ์ ราคาไม่แพง สนใจมาดูสวนที่เราดูแลได้ติดต่อเราได้ที่ ร้าน เทวินการเกษตร โทรเลย ครับที่ 089-5599056
สารราดลำไยคุณภาพสูงปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการใช้สารโพแทสเซียมเป็นสารลำไยก็ คือ  เริ่มต้นจะอยู่ที่ต้นลำไยจะต้องมีความพร้อมสมบูรณ์และระยะใบต้องเหมาะสม สำหรับการราดสารเพื่อชักนำให้ออกดอก โดยใบลำไยควรมีอายุประมาณ 25 วัน (ใบเพสลาด) ที่สำคัญต้องไม่ใช่ระยะใบอ่อน  เกษตรกรต้องมีการเตรียมต้นที่เหมาะสม เช่น หากทรงพุ่มทึบควรตัดแต่งเบาเพื่อให้โปร่งและแสงส่องผ่านสะดวก หรือทำความสะอาดโคนต้นก่อนราดสาร ( บางเจ้าจะปล่อยให้โคนต้นมีเศษใบปกคุมเล็กน้อยโดยให้เหตุผลว่า เวลาราดสารลำไยหรือให้ปุ๋ยเศษใบของลำไยจะป้องกันและกักเก็บปุ๋ย สารโพแทสเซียมและน้ำไม่ให้ไหลไปไหน ) เป็นต้น และนอกจากนี้ยังพบว่าอายุต้นลำไยที่จะผลิตลำไยนอกฤดูได้ดีมักจะอยู่ในช่วง อายุ 6-15 ปี และควรมีการบำรุงรักษาและพักต้นหลังการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วไม่
ต่ำกว่า 3 เดือน ( บางคนจะพักถึง 8 เดือนเป็นอย่างน้อย )จึงจะสามารถชักนำให้ออกดอกใหม่ได้ สุดท้ายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ
จะใช้เป็นสารราดลำไยหรือใช้เป็นสารพ่นทางใบลำไยก็ได้สภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อม ได้แก่ สภาพดินและแหล่งน้ำ หรือปริมาณน้ำที่จะต้องใช้ในแปลงผลิต นอกจากนี้ความสัมพันธ์ของสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ปริมาณฝน อุณหภูมิและความชื้นในอากาศในระหว่างการชักนำให้ออกดอก จะมีผลต่อการออกดอกติดผลของลำไยด้วย เช่น หากมีฝนตกมาก ปริมาณการใช้สารลำไยจะเพิ่มขึ้น หรือหากชักนำให้ออกดอกในช่วงอุณหภูมิต่ำ มักจะมีการติดผลน้อย เป็นต้น ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศดังกล่าว ยังไม่สามารถสรุปเป็นตัวเลขศึกษายืนยันได้
การทำลำไยนอกฤดูโดยใช้สารลำไย

สิ่งบ่งชี้อย่างหนึ่งที่แสดงถึงประสบการณ์ของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยที่ประสบ ความสำเร็จคือ การวางแผนการผลิตลำไยนอกฤดู โดยจะกำหนดวันราดสารลำไยเพื่อชักนำให้ออกดอกตามความต้องการของตลาด ซึ่งแยกเป็นระยะการผลิตปลีกย่อยอีก 5 ระยะ (ดูตาราง) อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากระยะการผลิตดังกล่าว การผลิตลำไยนอกฤดูก็สามารถทำได้ตลอดทั้งปี แต่อาจจะพบเห็นได้น้อยกว่า


ช่วงเวลาที่ตลาดต้องการ
เดือนที่ราดสารเพื่อชักนำให้ออกดอก
เดือนที่เก็บเกี่ยวผลผลิต
1.วันชาติจีน
 ปลายกุมภาพันธ์มีนาคม
กันยายน
2.คริสมาส/ปีใหม่
พฤษภาคมมิถุนายน
ธันวาคม
3.ตรุษจีน
10-30 มิถุนายน
ปลายมกราคม ต้นกุมภาพันธ์
4.เชงเม้ง
ปลายกรกฎาคมสิงหาคม
มีนาคม
5.ก่อนฤดู
พฤศจิกายน
มิถุนายน
การผลิตลำไยนอกฤดูด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรตหรือสารใส่ลำไย
            ลำไย (Longan, Dimocarpus longan Lour) เป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของภาคเหนือ  ในปี 2551 ประเทศไทยมีเนื้อที่ให้ผล 966,831 ไร่ และผลผลิต 476,930 ตัน ผลผลิตลำไยสามารถจำหน่ายสด อบแห้งทั้งเปลือก อบแห้งเนื้อสีทอง และบรรจุกระป๋อง ซึ่งคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี  เกษตรกรนิยมปลูกลำไยพันธุ์ดอมากที่สุด ทำให้ผลผลิตลำไยในฤดูคือเดือนกรกฎาคม และสิงหาคมออกสู่ตลาดมาก และราคาตกต่ำ นอกจากนี้ยังขาดแรงงานเก็บเกี่ยวผลผลิต ส่วนผลผลิตลำไยนอกฤดูคือเดือนตุลาคมถึงมิถุนายนมีน้อย แต่ตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศมีความต้องการสูง   ดังนั้นการแก้ปัญหาการกระจุกตัว และราคาตกต่ำของลำไยในฤดู ทำได้โดยการพัฒนา และสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตลำไยนอกฤดูให้มากขึ้น  ในปี 2540 ได้เริ่มมีการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต (Potassium chlorate, KClO3) หรือเกษตกรเรียกว่า สารลำไย   ชักนำให้ลำไยออกดอกนอกฤดูเป็นผลสำเร็จ จึงทำให้พื้นที่ปลูกลำไยเพิ่มขึ้นและใช้สารลำไยผลิตลำไยนอกฤดู กันอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนี้
 การเตรียมความพร้อมของต้นก่อนการใช้สารราดลำไย
            1. ควรตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว โดยตัดแบบเปิดกลางทรงพุ่ม กิ่งที่ไม่ได้รับแสง และกิ่งที่ถูกโรคหรือแมลงทำลาย
            2. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา 10-20 กิโลกรัม/ต้นควบคู่กับปุ๋ยเคมี N:P:K สัดส่วน 4:1:3 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น

          3. เพื่อทำให้ยอดที่แตกใหม่สมบูรณ์พร้อมออกดอกควรป้องกันกำจัดโรคและแมลงในช่วง แตกใบอ่อน เช่นโรคราน้ำค้าง หนอนกัดกินใบ และหนอนชอนใบ
           4. การบังคับไม่ให้ต้นออกดอกในฤดูเพื่อผลิตนอกฤดูทำได้โดยการตัดปลายกิ่งยาว 10-15 นิ้วเดือนพฤศจิกายน การตัดช่อผลทิ้งในเดือนกุมภาพันธุ์ซึ่งผลมีขนาด 0.5 เซนติเมตร  ตลอด จนการพ่นสารโพแทสเซียมไนเตรท 2.5% หรือสารไทโอยูเรีย 0.5 % เดือนพฤศจิกายนซึ่งยับยั้งออกดอกได้ในบางปี
การชักนำให้ออกดอกโดยใช้สารโพแทสเซียมหรือสารใส่ลำไย
           1. สโพแทสารเซียมคลอเรตบริสุทธิ์เนื้อสารไม่ต่ำกว่า 95% เป็นสารยุทธภัณฑ์ การมีไว้ในครอบครองต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงกลาโหม แต่สารโพแทสเซียมเนื้อสารไม่เกิน 15% อยู่ในการควบคุมของกรมวิชาการเกษตร สารบริสุทธิ์เป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น เป็นสารไม่ไวไฟ แต่ช่วยให้ไฟติดทำปฏิกิริยารุนแรงกับสารรองรับออกซิเจนและสารอินทรีย์ทุก ชนิด
           2. ขั้นตอนการใช้สารโพแทสเซียมหรือสารลำไย

                   2.1 เลือกต้นลำไยที่สมบูรณ์ และอยู่ในระยะใบแก่เต็มที่ หากมีทรงพุ่มแน่นทึบเกินไปควรตัดแต่งกิ่งออกบ้าง หลังตัดแต่งกิ่งควรให้สารโพแทสเซียมคลอเรตหรือสารใส่ลำไยทันทีหรือไม่ควรเกิน 1 สัปดาห์
                    2.2  ทำความสะอาดบริเวณใต้ทรงพุ่ม  โดยกำจัดวัชพืชและวัสดุคลุมดินออกจากทรงพุ่ม หากดินชื้นมากเกินไปควรทิ้งให้แห้ง 1–2 วัน หากดินแห้งเกินไปควรรดน้ำให้ดินชื้นเล็กน้อย
                     2.3  วิธีให้สารลำไยมี 2 วิธี คือ ผสมน้ำราด และหว่านแล้วให้น้ำ ควรให้เป็นวงรอบชายทรงพุ่มเข้ามา 50–100 เซนติเมตร
                     2.4. ใช้สารโพแทสเซียมที่บริสุทธิ์ โดยอัตราที่แนะนำของกรมวิชาการเกษตร คือ 60 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร หรือ 8 – 20 กรัมต่อตารางเมตรพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม    ช่วงฤดูหนาวอาจใช้อัตราต่ำกว่ากำหนด และช่วงฤดูฝนใช้อัตราที่สูงขึ้นเช่น 100-150 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร
                     2.5  ควรรดน้ำตามทุก 3-5 วันเพื่อให้สารโพแทสเซียมคลอเรตละลาย และถูกดูดซึมได้ดี  
           3. ต้นจะออกดอกหลังราดสารโพแทสเซียมคลอเรตแล้ว 20-30 วัน
           4. หลีกเลี่ยงการใช้สารลำไยในช่วงที่มีฝนตกชุกหรือครึ้มฟ้าครึ้มฝน ต้นแตกใบอ่อน หรือมีอากาศเย็นจัด
ข้อควรพิจารณาในการผลิตลำไยนอกฤดู
                1.  ต้นลำไยควรมีความสมบูรณ์ แตกใบอ่อนแล้วประมาณ 2 ครั้ง และใบแก่เต็มที่
                2.  ควรมีแหล่งน้ำพอเพียงตลอดช่วงออกดอกติดผล เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ
                3.  มีตลาดรองรับผลผลิต และมีเงินทุนเพราะมีต้นทุนการผลิตสูง
                4.  มักมีโรค และแมลงเข้าทำลายมากกว่าปกติโดยเฉพาะ ค้างคาว
                5.  เกษตรกรมีความรู้และประสบการณ์ในการดูแลรักษาสวนและใช้ปัจจัยการผลิต
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หากเราเตรียมความพร้อมให้กับลำไยเรียบร้อยแล้ว หมดเงินค่าปุ๋ยค่ายาไปเยอะแล้ว หากเราใช้สารโพแทสเซี่ยมคลอเรตหรือสารใส่ลำไยที่ไม่มีคุณภาพจะทำให้เราต้องเสียทั้งเงินและ เวลาไปอีก 1 ปี เราขอแนะนำสารโพแทสเซี่ยมคลอเรต ที่มีคุณภาพสูงสามารถนำเข้าห้องแล็บเพื่อพิสูจน์ปริมาณคอเรตได้ หากไม่ได้มาตรฐานการผลิตเรายินดีรับของคืนและคืนเงินทุกบาทที่ท่านจ่ายให้กับเราคืนให้ท่าน
            การตรวจสอบสารให้ท่านนำสารโพแทสเซี่ยมคลอเรตที่ซื้อจากเราไปพิสูจน์ได้ที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ทราบผลภายใน 1 วัน
อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อตัวแทนจำหน่ายของเรา ติดต่อ มือถือ 089-5599-056 เทวินการเกษตร

สนใจสารลำไย กระสอบฟ้า >>>>>คลิกตรงนี้
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่>>>>>คลิก

เวปไซด์ใหม่ของเราเชิญติดตามได้ที่นี่>>>> กดคลิก
           
Created with Artisteer

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น